เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต] 1. ปฐมวรรค2. สัตตสูตร

“ก็ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ทำให้คลายกำหนัด”
“ก็ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ทำให้หลุดพ้น”
“ก็ความหลุดพ้นมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความหลุดพ้นมีประโยชน์ทำให้นิพพาน”
“ก็นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ราธะ เธอถามมากเกินไปแล้ว เธอไม่อาจกำหนดขอบเขตของปัญหาได้
เพราะกุลบุตรย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นจุด
มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด”

มารสูตรที่ 1 จบ

2. สัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์

[161] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
พระองค์จึงตรัสว่า ‘สัตว์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ ความ
กำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘สัตว์’ ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ... ในสังขาร ... บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะฉะนั้น
เราจึงกล่าวว่า ‘สัตว์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :254 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [2. ราธสังยุต]
1. ปฐมวรรค 3. ภวเนตติสูตร

ราธะ พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเล่นเรือนฝุ่นอยู่ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย
ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด
พวกเขาก็อาลัย อยากเล่น หวงแหน ยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
แต่เมื่อใด พวกเด็กชายหรือเด็กหญิง เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้น เมื่อนั้น พวกเขาย่อมรื้อ ยื้อแย่ง
ทำลาย ทำเรือนฝุ่นเหล่านั้นให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงรื้อ แยก กระจายออก ทำรูปให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อ
ความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก ทำเวทนาให้ยินดีไม่ได้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ... สัญญา ... เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำสังขารให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำวิญญาณให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ราธะ ก็ความสิ้นตัณหา จัด
เป็นนิพพาน”

สัตตสูตรที่ 2 จบ

3. ภวเนตติสูตร
ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ

[162] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ’ กิเลสเป็นเหตุนำไป
สู่ภพเป็นอย่างไร ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :255 }